Wellcome

ยินดีต้อนรับสู่ค่ายบั้งไฟสายพิณ

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วิธีการทำบั้งไฟ

ค่ายสายพิณ หมู่บ้านหนองคลอง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ โทร 088478757 วัตถุดิบในการทำบั้งไฟ ได้แก่ ท่อพีวีซี ซื้อจากตลาดท่อนละ 150 บาท ถ้าซื้อทั้งเส้น (4 เมตร) ราคาประมาณ 230 บาท ไม้ไผ่ หาตัดได้ทั่วไป เลือกลำที่สวย ๆ ดินปะสิว ซื้อจากตลาดกิโลกรัมละ 50-55 บาท และถ่าน หาไม้จากใกล้บ้านแล้วเอามาเผาเอง เมื่อได้วัตถุดิบแล้วจึงตัดไม้มาเผาเป็นถ่าน แล้วบดเข้ากับดินประสิวอัดใส่ท่อพีวีซีจนเต็ม หลังจากนั้นเอาดินปิดด้านบน แล้วใช้ไม้อะไรก็ได้เหลาให้กลมติดพอดีกับกระบอกแล้วเจาะรูตรงกลาง และนำไม้ไผ่มาติดเป็นหางก็จะได้บั้งไฟ สำหรับวิธีการจุดบั้งไฟนั้น เริ่มแรกต้องนำน้ำเทใส่รูทิ้งไว้ 10-30 นาที แล้วแต่ช่าง แล้วก็เทออก การใส่น้ำนี้ก็เพื่อให้เกิดความชื้น หลังจากนั้นจึงนำไม้พันผ้าที่ปลายมาเช็ดน้ำให้แห้งแล้วนำบั้งไฟขึ้นร้านที่ทำไว้มีไม้พิง ตั้ง 90 องศา ในการจุดบั้งไฟแข่งขันนั้นจะใช้แบตเตอรี่ จึงต้องใช้ดินปะสิว ฝอยขัดหม้อและสายไฟห่อด้วยฟรอยด์แล้วเอาเทปพันติดไว้กับปลายท่อ ติดสายไฟไว้ 1 สายก่อนที่แบตเตอรี่ เมื่อจุดก็นำสายไฟสายที่ 2 ไปติดกับขั้วแบตเตอรี่อีกด้าน ไฟก็จะวิ่งไปที่หางบั้งไฟ แล้วก็จะวิ่งไปบนฟ้า การทำบั้งไฟนี้มีค่าใช้จ่ายประมาณอันละ 500-600 บาท ถ้าเป็นบั้งไฟอันใหญ่จะต้องเสียค่าจ้างอัด 200 บาท เพราะใช้แม่แรงไฮดรอลิคเป็นตัวอัด ใช้เวลาเพียงวันเดียว ผิดกับสมัยก่อนที่ใช้แรงคนอัดกับต้นไม้ ใช้เวลาประมาณ 2 อาทิตย์ ที่มีจำหน่ายราคาประมาณอันละ 1,000 บาท แต่ส่วนใหญ่นิยมทำไว้ประกวดเอง ปีละ 2-3 อัน หรือใช้ในงานบุญก็มี ถ้าประกวดชนะตามอำเภอหรือจังหวัด จะมีรางวัลประมาณ 1,000-3,000 บาท การจุดบั้งไฟจะมีขึ้นในช่วงทำบุญเดือน 6 เดือน 7 และมีมากที่จังหวัดยโสธร บั้งไฟขนาดใหญ่ที่ใช้ประกวดจะมีชื่อเรียกว่า “ บั้งไฟแสน” มีราคาแพง สถานที่ในการจุดบั้งไฟจะต้องขออนุญาตก่อน เวลาประกวดกรรมการจะมีกล้องส่องดูว่า บั้งไฟอันใด ใช้เวลานานมากเท่าไรในการวิ่งขึ้นไป ถ้าอยู่นานที่สุดจึงชนะ งานบุญบั้งไฟที่จัดกันในสมัยก่อน และยังอาจจัดกันอยู่ตามชนบทที่ห่างไกลในทุกวันนี้นั้น มีความหมายในระบบความสัมพันธ์ทางสังคมของชนบทไทย กล่าวคือ พิธีกรรมที่จัดขึ้นนี้มีสะท้อนสภาพความเป็นจริงในโครงสร้างทางสังคม กล่าวคือ งานบุญบั้งไฟเป็นงานที่จัดขึ้นช่วงก่อนที่จะถึงฤดูทำนาปี แม้ว่าชาวนาในอีสานอาจปลูกข้าวหลายครั้งในรอบปี หรือปลูกข้าวไร่ แต่จำนวนข้าวที่จะได้มากที่สุดมาจากนาดำซึ่งต้องทำในฤดูฝน ฉะนั้นการทำนาปีจึงถือได้ว่าเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่สุด งานบุญบั้งไฟจึงให้ความมั่นใจแก่ชาวบ้านว่า ธรรมชาติจะเอื้ออำนวยให้แก่การผลิตที่สำคัญนี้ เพราะได้ร่วมกันทำพิธีซึ่งเป็นหลักประกันในความอุดมสมบูรณ์ดินฟ้าอากาศ การผลิตข้าวนาปีนั้น แม้ว่าฐานการผลิตจะเป็นครอบครัว แต่ชุมชนก็มีความสำคัญในการผลิตไม่น้อย ตั้งแต่การจัดการควบคุมน้ำซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือยินยอมผ่อนปรนกัน จังหวะการทำนาซึ่งต้องไม่ขัดกันเองอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กันและกันได้ การร่วมแรงสำหรับกิจกรรมที่จำเป็นเช่นการเกี่ยวข้าว เป็นต้น ฉะนั้น งานบุญบั้งไฟจึงช่วยให้สำนึกให้ความเป็นปึกแผ่นของชุมชนเข้มแข็งขึ้นในยามที่ฤดูทำนากำลังจะมาถึง การเชื้อเชิญหมู่บ้านอื่นมาร่วมงานก็เป็นการเชื้อเชิญไปตามเครือข่ายความสัมพันธ์ในเชิงเครือญาติและการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน นับเป็นการเสริมความร่วมมือในเครือข่ายที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของชาวบ้านไปพร้อมกันด้วยนอกจากนี้บทบาทของผู้ร่วมคือการยืนยันในลำดับชั้นทางสังคมชุมชนชน เช่น การตัดสินใจว่าจะทำงานบุญบั้งไฟหรือไม่ขึ้นอยู่กับที่ประชุมของผู้อาวุโสในหมู่บ้าน ครอบครัวที่เป็นเจ้าภาพรับแขกจากหมู่บ้านอื่นมักเป็นครอบครัวที่ต้องมีฐานะดีพอจะบวชลูกหลานในงานใหญ่ขนาดนั้นได้ บั้งไฟจะถูกแห่ไปยังศาลปู่ตาซึ่งเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญของหมู่บ้าน แต่ศูนย์กลางของงานฉลองเป็นวัดในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสถาบันทางสังคมที่สำคัญของหมู่บ้านเช่นกัน พระสงฆ์ที่ได้รับความนับถือจากชาวบ้านจะเป็นแม่งาน ส่วนชาวบ้านทั่วไปโดยเฉพาะที่ไม่มีสถานะทางสังคมสูงนัก เช่น เด็กหนุ่มคือผู้ที่เข้าร่วมขบวนเซิ้ง จะมีบทบาทเป็นผู้เล่นตลกหรือหยาบโลนตามประเพณี กล่าวได้ว่างานบุญบั้งไฟเป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับชุมชนเกษตรกรรมขนาดเล็ก ที่มีลักษณะผสมระหว่างงานเทศกาลของชุมชนกับพิธีกรรมทางความเชื่อหรือศาสนา ที่ผู้ร่วมงานทุกคนต่างมีระบบความเชื่ออันเดียวกัน มีอาชีพเดียวกัน และอยู่ในระบบความสัมพันธ์ทางสังคมแบบเดียวกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น